4.โปรแกรมอรรถประโยชน์


1.ความหมายและหน้าที่ของโปรแกรมอรรถประโยชน์
ความหมายของโปรแกรมอรรถประโยชน์ Utilities Program คือ โปรแกรมทีทำงานบนระบบปฏิบัติการเพื่อบำรุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์
หน้าที่ของโปรแกรมคอมพิวเตอร์
1)บำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
2)เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์



2.ชนิดของโปรแกรมอรรถประโยชน์
    โปรแกรมอรรถประโยชน์ แบ่งได้ 2 ชนิด
    1. โปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการ
        1.1 การจัดการไฟล์ (File Manager)
        1.2 การถอดโปรแกรม (Uninstaller)
        1.3 การสแกนดิสก์ (Disk Scanner)
    สแกนดิสก์ (Disk Scanner) คือ โปรแกรมที่ใช้สำหรับตรวจสอบการทำงานและตรวจสอบความบกพร่องของฮาร์ดดิสก์และระบบไฟล์ของ Windows ในเบื้องต้น Windows ไปนานๆและผู้ใช้มีความรู้สึกว่าการทำงานของWindows เริ่มจะมีปัญหา อาจใช้โปรแกรม Scandisk เพื่อตรวจสอบฮาร์ดดิสก์และระบบไฟล์ต่างๆ ของ Windows ได้ รวมถึงการแก้ไชปัญหาของระบบไฟล์ หากความเสียหายนั้นไม่มากเกินไป
การเรียกใช้โปรแกรม Scandisk

    1.คลิกขวาที่ปุ่ม Start
    2.เลือก Open Windows Ecplorer
3.เลือก Computer
4.คลิกขวาไดร์ฟที่ต้องการ Scandisk
5.เลือก Properties
  6.เลือก Tools
  7. เลือก Check now…


8. คลิก P ที่ Scan for and attempt recovery of bad sectors
9. คลิก Start
1.4 การจัดการพื้นที่ที่ใช้เก็บข้อมูล
    (Disk Defragmenter) Disk Defragmenter หรือการทำ Defrag คือ การจัดเรียงไฟล์ข้อมูลต่างๆ ที่เก็บอยูในฮาร์ดดิสก์ให้มีความต่อเนื่องหรือเรียงกันเป็นระบบต่อๆ กันไป ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำ Defragmenter คือ ความเร็วในการอ่านข้อทูลของไฟล์นั้นจะมีการอ่านข้อมูลได้เร็วขึ้น หากในฮาร์ดดิสก์มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างกระจัดกระจายเมื่อต้องการอ่านข้อมูลจากไฟล์ หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์จะต้องมีการเคลื่อนย้ายไปมาเพื่อทำการอ่านข้อมูลจนครบ แต่ถ้าหากผู้ใช้ได้ทำการ Defragment ฮาร์ดดิสก์การเก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จะมีความต่อเนื่องมากขึ้น เมื่อต้องการอ่านข้อมูลหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์จะสามารถอ่านได้โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายหัวอ่านบ่อยๆ หรือเคลื่อนย้ายหัวอ่านมากเกินไปจะทำให้เวลาในการอ่านได้เร็วขึ้น

การทำ Disk Drfragment ใน Windows 7
1) กดปุ่ม Windows logo +E เพื่อเปิดหน้าต่าง Windows Explorer ดังรูปที่ 6.6
2)คลิกขวาเลือกไดรฟ์ที่ต้องการตรวจสอบ

3)คลิก คุณสมบัติ (Properties)
4)คลิกแท็บ Tools
5)เลือกคำสั่ง Defragment now
6)คลิกปุ่ม Start
 7)จะปรากฏหน้าต่างให้เลือกรายละเอียดว่าจะทำที่ไดร์ฟอะไร ดังรูปที่ 6.7
8)เลือกไดร์ฟ แล้วกด Defragment Disk
    1.5 การรักษาหน้าจอ (Screen Saver)
    Screen Saver คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่รักษาคอมพิวเตอร์ เมื่อเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้นานๆ และปล่อยให้จอคอมพิวเตอร์แสดงภาพเดิม โดยไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ทำให้จอคอมพิวเตอร์มีรอยไหม้เกิดขึ้น และรอยนี้จะติดต่ออยู่ตลอดไป หรืออาจทำให้จอคอมพิวเตอร์มืด จากปัญหาดังกล่าว จึงมีผู้ประดิษฐ์คิดค้นโปรแกรมถนอมจอภาพขึ้น โดยอาศัยหลักการที่ว่า หากไม้ได้สัมผัสกับคอมพิวเตอร์และปล่อยให้จอคอมพิวเตอร์แสดงภาพเดิมอยู่เป็นเวลานาน X นาที (X คือ เวลาที่ผู้ใช้สามารถกำหนดเองได้) โปรแกรม Screen Saver จะทำงานทันที บางโปรแกรมอาจมีเคลื่อนไหว หรือตัวหนังสือวิ่งไปมา บางโปรแกรมอาจมีเสียงเพลงดังขึ้น เมื่อผู้ใช้แตะเมาส์หรือแป้นอักษรแป้นใดแป้นหนึ่ง ข้อความหรือภาพบนจอคอมพิวเตอร์อาจหายไป
    Screen Saver จะช่วยให้จอคอมพิวเตอร์มีการแสดงภาพเปลี่ยนไปมาอยู่ตลอดเวลาเพื่อรักษาหน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น ไม่ได้เป็นการพักเครื่องหรือพักการทานของพีซียู Screen Saver สามารถดาวน์โหลดได้จากอินเตอร์เน็ตและทำการติดตั้งได้ง่าย โปรแกรม Screen Saver จะมีนามสกุล .scr ให้ทำการคัดลอกไฟล์นั้นไปเก็บไว้ที่ C:\WINDOWS\SYSTEM หลังจากนั้น เมื่อเข้ามาดูในเมนูของการเลือก Screen saver จะเห็นรายชื่อเพิ่มเติมให้เลือกใช้งานได้
    การทำ Screen Saver ใน Windows 7
    วิธีที่ 1 1) Start > Control Panel
                2) Personalization จะปรากฏหน้าต่างที่ ดังรูปที่ 6.8

3) เลือก Screen Saver จะปรากฏหน้าต่าง ดังรูปนี้ 6.9
วิธีที่ 2 1) คลิกขวาที่ Desktop
                2) เลือก Personalize จะปรากฏหน้าต่าง ดังรูปที่ 6.10


3) เลือก Screen Saver จะปรากฏหน้าต่างดังรูปที่ 6.11
4) เลือกชนิดของ Screen Saver
5) กด OK

ระบบปฎิบัติการที่ใช้ ที่ได้รับความนิยม


ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวพร้อมๆ กันระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น
ระบบปฏิบัติกาNOSคืออะไร  หรือ OS (Operating System) ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของโปรแกรมที่รันบนคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น         ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์มี
หลายชนิด   เช่น  หน่วยความจำ, ฮาร์ดดิสก์, จอภาพ, คีย์บอร์ด และเมาส์ เป็นต้น ถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์คงจะรันโปรแกรมมากกว่าหนึ่งโปรแกรมไม่ได้ เพราะแต่ละโปรแกรมอาจแย่งใช้ทรัพยากรดังกล่าว  จนอาจทำให้ระบบล่มได้  ระบบเครือข่าย  เช่น  เครื่องพิมพ์  ฮาร์ดดิสก์  เป็นต้น  คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย  จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการทั้งสองประเภท  เพื่อที่จะทำหน้าที่ทั้งจัดการทรัพยากรภายในคอมพิวเตอร์และในระบบเครือข่าย  แต่โดยส่วนใหญ่ระบบ ปฏิบัติการทั้งสองประเภทจะอยู่ในตัวเดียวกัน   เมื่อติดตั้งระบบปฏิบัติการเสร็จแล้วก็เพียงติดตั้งส่วนที่เป็นเครือข่ายเท่านั้น
ระบบปฏิบัติการเครือข่ายอาจเป็นชุดซอฟต์แวร์ที่ต้องติดตั้งเพิ่มเติม   หรืออาจจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการทั่ว ๆ  ไป   ขึ้นอยู่กับบริษัทที่ผลิต  ตัวอย่างเช่น   เน็ตแวร์ (NetWare)  ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ของบริษัทโนเวล   เป็นระบบปฏิบัติการที่ต้องติดตั้งเพิ่มเติมบนเครื่องที่มีระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว ส่วนระบบปฏิบัติการวินโดวส์  NT/2000/2003, วินโดวส์  95/98/Me  และยูนิกซ์มีระบบปฏิบัติการเครือข่ายอยู่ในตัวอยู่แล้ว   โดยไม่ต้องติดตั้งเพิ่มเติม
1. ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกซ์ และแมคอินทอช เป็นต้น
1) ดอส (Disk Operating System : DOS) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีต ปัจจุบันระบบปฏิบัติการดอสนั้นมีการใช้งานน้อยมาก
2) วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียวนอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน 
3) ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers) และสามารถทำงานได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็น เครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆ เครื่องพร้อมกัน
AIX โดยบริษัท IBM
AUX โดยบริษัท Apple
IRIS โดย บริษัท Silicon Graphic
Linux เป็น Freeware
OSF/I โดย บริษัท DEC
SCO UNIX โดย บริษัท SCO
SunOS โดย บริษัท SUN Microsystem
ULTRIX โดย บริษัท DEC
4) ลีนุกซ์ (linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกูส์นิว (GNU) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (Free Ware) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
5) แมคอินทอช (macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอช ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ  นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมาก เช่นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความหมายของคอมพิวเตอร์

     ความหมายของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสาม...