ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์
ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล
ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง
โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก
อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล
การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้
คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้
ประเภทของคอมพิวเตอร์
1.คอมพิวเตอร์สามารถจำแนกได้หลายประเภท
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของขนาดเครื่องความเร็วในการประมวลผล
และราคาเป็นข้อพิจารณาหลัก ซึ่งโดยทั่วไปนิยมจำแนกประเภทคอมพิวเตอร์เป็น 7ประเภทดังนี้ คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์
( Supercomputer) คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (Mainframecomputer)
มินิคอมพิวเตอร์
(Minicomputer) คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop
computer) โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (Notebook
computer) คอมพิวเตอร์พกพาขนาดฝ่ามือ (Hand-held
Personal computer) คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded
computer) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด
จึงมีราคาแพงมาก ความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้ถึงพันล้านคำสั่งต่อวินาที
ตัวอย่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น การพยากรณ์อากาศ การทดสอบทางอวกาศ และงานอื่นๆ
ที่มีการคำนวณที่ซับซอน ปัจจุบันมีการนำซูเปอร์คอมพิวเตอร์ไปใช้กับงานออกแบบชิ่นส่วนรถยนต์
งานวิเคราะห์สิงค้าคงคลัง หรือแม้แต่การออกแบบงานด้านศิลปะ
หน่วยงานที่มีการใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ได้แก่ องค์การนาซา (NASA)และหน่วยงานธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น
บริษัท General MotorsและAT&T เป็นต้น
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) หรือ คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่ ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์เมนเฟรมนิยมใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้จำนวนมากในเวลาเดียวกัน (Multiple Users) เช่น งานธนาคาร การจองตั๋ว เครื่องบิน การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียนของนักศึกษาเป็นต้น
3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานด้านความเร็วและความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลน้อยกว่าเมนเฟรม แต่สูงกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop computer) และสามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงานที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นในการพัฒนาที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น บริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ ตลาดหลักทรัพย์สถานศึกษา รวมทั้งการให้บริการข้อมูลแก้ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม เป็นต้น
คอมพิวเตอร์ยุดใหม่
คอมพิวเตอร์ยุคใหม่ การใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อย ๆและนำมาใช้กับงานที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จากที่แต่เดิมบางหน่วยงานเอาคอมพิวเตอร์เพื่อมาช่วยสำหรับงานประมวลผลเล็ก ๆ เท่านั้น เช่น งานการจัดพิมพ์เอกสารหรืองานสำนักงาน ซึ่งยังไม่ค่อยสนับสนุนในเรื่องของการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายมากนัก แต่ปัจจุบันได้พัฒนาให้สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างทั่วถึงเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจึงสามารถโอนถ่ายข้อมูลถึงกันได้อย่างรวดเร็วภายใต้ระบบสื่อสารที่ดีขึ้นโดยเฉพาะบทบาทของเทคโนโลยีทางด้านอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันที่ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่างที่กัน สามารถทำได้อย่างง่ายดาย คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีรูปลักษณ์น่าใช้ขึ้นกว่าแต่ก่อนการออกแบบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ก็ได้มีการปรับปรุงขนาดให้เล็กลงและมีรูปลักษณ์ที่แปลกตามากยิ่งขึ้น บางเครื่องมีการออกแบบที่เน้นให้รูปลักษณ์ภายนอกสามารถเป็นเครื่องประดับหรือเฟอร์นิเจอร์ของห้องทำงานได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังรองรับการเชื่อมต่อของอุปกรณ์สมัยใหม่ เช่น กล้องดิจิตอล โทรศัพท์มือถือ รวมถึงสื่อเก็บบันทึกข้อมูลแบบพกพาที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานไว้อย่างพร้อมสรรพ รูปลักษณ์ของไมโครคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปรวมถึงคอมพิวเตอร์มือถือที่เราอาจพบเห็นหรือหามาใช้งานได้ พอจำแนกออกได้เป็นหลายกลุ่ม ดังนี้ การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่อง คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถประมวลผลได้เร็วขึ้น แต่ราคาถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานทำได้ง่าย มีให้เลือกหลากหลายรุ่นตามร้านค้าทั่วไป แต่ผู้ใช้งานควรพิจารณาว่าจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อทำงานด้านใด เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์มีทั้งแบบที่ใช้ได้กับงานทุกประเภทหรืองานเฉพาะ ด้าน แม้ว่าราคาเครื่องอุปกรณ์ต่างๆจะถูกลง แต่ผู้ใช้ควรเลือกคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อให้คุ้มค่ากับ จำนวนเงิน ตัวอย่างของการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์
1.1เคส
โดยทั่วไปเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ทำหน้าที่เป็นโครงยึดให้กับอุปกรณ์ภายในต่างๆ ที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แหล่งจ่ายไฟ เป็นต้น
1.การเลือกเคส
2 .full tower
เคสประเภทรุ่นใหญ่ ขนาดความสูงประมาณ 55-60 Cm ขึ้นไปมีช่องว่างเหนือเมนบอร์ด และ สามารถใส่ Drive ได้มากเป็นพิเศษ ผู้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์ หรือนักเล่นเกม จะนิยมประเภทนี้ เพราะใส่อุปกรณ์ได้มาก และระบายความร้อนได้ดีกว่า แต่ราคาก็สูงตามไปด้วย นิยมเอามาทำเป็นเครื่อง server
3.mem diutower
เคสตั้งแบบกลาง คือ เคสขนาดกลาง เคสที่เห็นกันในท้องตลาด ส่วนใหญ่จะเป็นขนาดนี้ ไม่เล็กไม่ใหญ่ มีเนื้อที่ในการเพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ
4.Mini Tower
(มินิทาวเวอร์) คือ เคสขนาดเล็ก รูปร่างกะทัดรัด จะวางบนโต๊ะ หรือ ใต้โต๊ะก็สะดวก แต่ข้อเสีย คือเพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปอีกค่อนข้างลำบาก เพราะว่าพื้นที่ภายในแคบ
5.พาวเวอร์ซัพพลาย
คืออุปกรณ์ที่มีความสำคัญกับเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก เพราะทำหน้าที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ power supply จะทำการแปลงไฟกระแสสลับ 220 V (AC) ให้กลายเป็นไฟกระแสตรง (DC) และแจกจ่ายให้อุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น Mainboard, CPU หรือ Harddisk โดยช่องเสียบของอุปกรณ์แต่ละตัวนั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน และมีจำนวนไฟที่แตกต่างกัน ภายในตัว power supply จะมีพัดลมเพื่อใช้สำหรับระบายความร้อนให้กับตัวมันเองอยู่ด้วย
power supply สามารถซื้อแยกชิ้นได้ไม่จำเป็นว่าจะต้องติดมากับเคสคอมพิวเตอร์เสมอไป แต่โดยทั่วไปแล้วคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานพื้นฐานทั่ว ๆ ไปมักจะใช้ power supply ที่ติดตั้งมาพร้อมกับเคส แต่สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับเล่นเกมส์ หรือใช้งานในการออกแบบกราฟฟิกส์ อาจจะต้องเลือกซื้อ power supply เพิ่มเติม เนื่องจากอุปกรณ์ที่เป็น VGA Card (การ์ดจอ) ค่อนข้างจะใช้ไฟมากกว่าปกตินั่นเอง นอกจากนี้หากเครื่องคอมพิวเตอร์มีการติดตั้งอุปกรณ์จำนวนมากเช่น Harddisk หลายตัว ก็ควรที่จะต้องซื้อ power supply ให้เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้มีไฟเพียงพอในการใช้งาน และคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะทำงานได้อย่าลื่นไหลนั่นเอง
6.หลักการเลือกพาวเวอร์ซัพพลาย
พาวเวอร์ซัพพลายเป็นส่วนที่ละเลยกันมากที่สุดในการเลือกซื้ออุปกรณ์สำหรับการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ บ่อยครั้งที่เราเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ เราแค่คำนึงถึงความเร็วของซีพียู เมนบอร์ด ขนาดหน่วยความจำ ขนาดฮาร์ดดิสก์ และลืมเรื่องเกี่ยวกับพาวเวอร์ซัพพลาย ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว พาวเวอร์ซัพพลายคือผู้ที่จัดหา “เชื้อเพลิง”สำหรับส่วนต่าง ๆ ของพีซีเพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง พาวเวอร์ซัพพลายที่มีคุณภาพดีและมีความสามารถในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้อย่างพอเพียงสามารถเพิ่มความทนทานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ อีกทางหนึ่งพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคุณภาพต่ำ อาจทำให้เกิดปัญหาระหว่างการทำงานหลายครั้ง ซึ่งยากต่อการแก้ไข พาวเวอร์ซัพพลายที่ชำรุดหรือคุณภาพแย่อาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดทำงาน พื้นที่บางส่วนของฮาร์ดดิสก์เสีย เกิดบลูสกรีนอันเลื่องชื่อ และอาจรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์รีเซตตัวเองหรือทำงานค้างเป็นครั้งคราว และปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องอีกมากมาย
คือ แผลวงจรหลักที่เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ในการเชื่อต่อระต่างๆที่อยู่ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้หมด |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น